กลุ่มยารักษาริดสีดวงทวาร | |||
ว่านหางจระเข้ | |||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f. ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis Mill | |||
ชื่อสามัญ : Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados | |||
วงศ์ : Asphodelaceae | |||
ชื่ออื่น : หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ) | |||
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวย ส่วนที่ใช้ : ยางในใบ น้ำวุ้น เนื้อวุ้น และเหง้า | |||
สรรพคุณ :
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ข้อควรระวังในการใช้ : ถ้าใช้เป็นยาภายใน คือ เป็นยาถ่าย ห้ามใช้กับคนที่ตั้งครรภ์ กำลังมีประจำเดือน และคนที่เป็นริดสีดวงทวาร ถ้าใช้เป็นยาภายนอก อาจมีคนแพ้แต่น้อยมาก ไม่ถึง 1% (ผลจากการวิจัย) อาการแพ้ เมื่อทาหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังแดงเป็นผื่นบางๆ บางครั้งเจ็บแสบ อาการนี้จะเกิดขึ้นหลังจากทายา 2-3 นาที ถ้ามีอาการเช่นนี้ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำที่สะอาด และเลิกใช้ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น สามารถแยกแยะสาระสำคัญตัวใหม่จากใบว่านหางจระเข้ได้ สารตัวใหม่นี้เป็น glycoprotein มีชื่อว่า Aloctin A ได้จดสิทธิบัตรไว้ที่ European Patent Application ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 นอกจากนี้พบว่า สารนี้สามารถรักษาโรคได้หลายโรค เช่น มะเร็ง แก้อาการแพ้ รักษาไฟไหม้ และรักษาโรคผิวหนัง สารเคมี: ใบมี Aloe-emodin, Alolin, Chrysophanic acid Barbaboin, AloctinA, Aloctin B, Brady Kininase Alosin, Anthramol Histidine, Amino acid , Alanine Glutamic acid Cystine, Glutamine, Glycine. | |||
ใสๆๆๆ
บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้สนใจในเรื่องของสมุนไพร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554
ถั่วอัลฟ่าฟ่า
อัลฟัลฟา (Alfalfa) คืออะไร
อัลฟัลฟา (Alfalfa) (Lucene) จัดเป็นพืชจำพวกตระกูลถั่วที่มีฝัก เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันตก และแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เป็นพืชชนิดแรก ๆ ที่ใช้เพื่อการเพาะปลูก เติบโตได้ในแถบทุกอากาศทั่วโลก อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีระบบรากที่มหัศจรรย์มาก ในบางพื้นที่รากของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) สามารถชอนไชลงไปได้ลึกกว่า 130 ฟุต จึงมีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารได้มากกว่าและบริสุทธิ์กว่า อีกทั้งตัวของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เองก็จะไม่สะสมสารพิษ ชาวอาหรับโบราณรู้จักใช้ประโยชน์จาก "อัลฟัลฟา (Alfalfa)" มากว่า 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้เป็นพืชเลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มความเร็วและแข็งแรงให้กับม้า อีกทั้งยังใช้ใบมาตากแห้งชงเป็นชาดื่ม ด้วยคุณค่าทางอาหารที่มากมายชาวอาหรับจึงขนานนาม อัลฟัลฟา (Alfalfa) ให้เป็น AL-FAS-FAH-SHA หรือ "ราชาแห่งอาหารทั้งมวล"
อัลฟัลฟา (Alfalfa) ใด้ถูกใช้เพื่อการรักษาทางการแพทย์มาตั้งแต่ในสมัยโบราณ โดยแพทย์ชาวจีนได้ใช้ใบ อัลฟัลฟา (Alfalfa) อ่อนในการรักษาอาการย่อยไม่ปกติ เช่นเดียวกันกับแพทย์ชาวอินเดียที่ใช้ใบ และดอกสำหรับการรักษากระบวนการย่อยทำงานที่ทำงานได้น้อย นอกจากนี้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังใช้เพื่อการบำบัดโรคข้อต่ออักเสบ ชาวอินเดียนในอเมริกาเหนือได้แนะนำให้ใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ในการรักษาโรคดีซ่าน และช่วยสนับสนุนการจับตัวของเลือด แพทย์ที่ใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดในสหรัฐอเมริการได้แนะนำให้ใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เป็นยาสำหรับอาการย่อยไม่เป็นปกติ ภาวะโลหิตจาง เบื่ออาหารและอาการการดูดซึมอาหารไม่ดี นอกจากนี้ยังแนะนำว่า อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีส่วนกระตุ้นให้การหลั่งน้ำนมในแม่ดีขึ้นอีกด้วย
[แก้] สารที่ประกอบอยู่ใน อัลฟัลฟา (Alfalfa)
ด้วย ระบบรากที่มีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารมากกว่าพืชชนิดใด ๆ เป็นผลให้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เป็นพืชที่มีส่วนประกอบของสารต่าง ๆ มากมาย มี กรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกายถึง 8 ชนิด เช่น lsoleucine, Leucine, Lysine, Methionine เป็นต้น ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่จำเป็นต้องมีไว้เพื่อประโยชน์ในการสร้างเซลล์ใหม่ อีกทั้ง อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีวิตามินอีกมากมาย รวมถึง วิตามิน A, B1, B6, B8, B12, C, D, E, K, P และ U รวมทั้งยังประกอบไปด้วยเกลือแร่อีกหลากชนิด เช่น ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม แคลเซียม สังกะสี เซเลเนียม และแมกนีเซียม เป็นต้น และยังมีเอนไซม์หลักอีกถึง 8 ชนิด คือ ไลเปส อาเมเลล โคกุเลส อีมูลซิน อินเวอร์เคส เปอร์อ๊อกซีเตส เพดติเนส โปรตีส นอกจากนี้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีส่วนประกอบของสารอื่น ๆ อีก เช่น Betacarotene, Bioflavinoids, Carotene, Chlorine Chlorophyll , flavone, isoflavone, sterol และ Saponin เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่ให้คุณต่อร่างกายด้วยกันทั้งนั้น[แก้] อัลฟัลฟา (Alfalfa) กับการใช้เพื่อสุขภาพสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน
สตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน ควรรับประทาน อัลฟัลฟา (Alfalfa) เป็นประจำ สาร isoflavone ใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) ถูกจัดเป็นเอสโตรเจนธรรมชาติ (phytooestrogen) ในสตรีในวันใกล้หมดประจำเดือน เอสโตรเจนจะลดต่ำลงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายและภาวะกระดูก เสื่อม ไฟโต-เอสโตรเจนใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) จะเข้าไปชดเชยเอสโตรเจนที่ต่ำลงนี้ รวมทั้ง วิตามินดี แร่ธาตุ แคลเซียมและฟอสฟอรัส ใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทำให้กระดูกฟันแข็งแรง จึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกเสื่อม นอกจากนี้วิตามินและแร่ธาตุใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) จะช่วยให้ร่างกายปรับสภาพได้อย่างเหมาะสม ลดอาการผิดปรกติในช่วงนี้ของอายุ เช่น อาการร้อนวูบวาบตามตัว หงุดหงิดง่ายลงด้วยประโยชน์ด้านอื่นๆ ของ อัลฟัลฟา (Alfalfa)
[แก้] อัลฟัลฟา (Alfalfa) กับภาวะ คลอเลสเตอรอล สูง
จาก การศึกษาในห้องทดลองพบว่า สาร saponin และส่วนประกอบอื่นใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีความสามารถในการยึดติดใน คลอเลสเตอรอล กับเกลือน้ำดีซึ่งจะเป็นผลช่วยป้องกันหรือชลอการดูดซึม คลอเลสเตอรอล จากอาหาร ดังนั้นจึงช่วยให้ระดับ คลอเลสเตอรอล ในเลือดต่ำ ป้องกันการเกิดภาวะการสะสมไขมันในหลอดเลือด ในการศึกษาผู้ป่วย 15 คน โดยให้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ขนาด 40 กรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า คนไข้มีระดับ คลอเลสเตอรอล รวมและ คลอเลสเตอรอล แบบ LDL (คลอเลสเตอรอล ชนิดเป็นโทษ) ลดลง 17-18% ในขณะที่มีบางส่วนลดลงถึง 26-30% จึงอาจกล่าวได้ว่า อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับความเข้มข้นของ คลอเลสเตอรอล ให้เป็นปกติ[แก้] อัลฟัลฟา (Alfalfa) ช่วยทำความสะอาดผิวจากภายใน
ครอ โรฟิลล์ ปริมาณสูง วิตามิน และแร่ธาตุที่มีอยู่ใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) ด้วยปริมาณที่เหมาะสม จะทำหน้าที่ขจัดของเสีย สารพิษออกจากเลือดและอวัยวะภายใน (Blood and Bowel cleanser) ลดการตกค้างของเสียตามผิวหนัง ทำให้เลือดสะอาดและไหลเวียนได้ดีขึ้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่รับประทาน มากและชอบรับประทานเนื้อสัตว์ เมื่อเลือดดีขึ้นทำให้ผิวพรรณผ่องใสมีสุขภาพที่ดีตามมา นอกจากนี้ใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีสาร ไฟโต-เอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งพบว่าในคนที่มีสิวง่าย เมื่อรับประทาน อัลฟัลฟา (Alfalfa) ปริมาณการเกิดสิวจะลดลงและผิวจะดูสะอาดขึ้น[แก้] อัลฟัลฟา (Alfalfa) กับโรคกระเพาะอาหาร
มี แพทย์จำนวนมากที่ใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารต่าง เช่น มีแก๊สมากในกระเพาะอาหารเกิดอาการจุกเสียดเป็นประจำ โรคแผลในกระเพาะอาหาร และโรคเบื่ออาหาร โดยพบว่า อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีวิตามินยู ซึ่ง ดร. กาเนนท์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด กล่าวว่า วิตามินยู มีศักยภาพสูงในการรักษาโรคกระเพาะ ทำให้การสมานแผลในกระเพาะดีขึ้น และการหลั่งของน้ำย่อยเป็นปกติอัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีเอ็นไซม์ Bataine ซึ่งเป็นเอ็นไซม์สำหรับย่อยและเอ็นไซม์อื่น ๆ อีก 7 ชนิดที่ส่งเสริมปฏิกิริยาเคมีที่สามารถทำให้การดูดซึมสารอาหารภายในร่างกาย เป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งการมีเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูงของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) จะทำให้ผิวที่เคลือบกระเพาะอาหารมีความแข็งแรง ซึ่งพบว่า อัลฟัลฟา (Alfalfa) สามารถช่วยโรคกระเพาะอาหาร ปวดท้องเพราะมีแก๊สมาก รักษาแผลในกระเพาะลำไส้ ได้เป็นอย่างดี การรักษาโรคของหญ้า อัลฟัลฟา (Alfalfa) นี้อาจจะเป็นในลักษณะเดียวกันกับวิธีทางธรรมชาติของแมวหรือสุนัข ที่มักจะกินหญ้าเพื่อบรรเทาโรคกระเพาะของมันได้
[แก้] ปวดข้อ ข้อแข็ง รูมาตอยด์ แก้ไขได้ด้วย อัลฟัลฟา (Alfalfa)
สาร อาหารใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) จะช่วยปรับสมดุล กรด-ด่าง ในร่างกาย ป้องกันการสะสมของกรดยูริคและกรดอื่น ๆ ตามข้อต่อต่าง ๆ ในหนังสือของ แคทเทอรีน เอลวูล ชื่อ Feel Like a Million ได้กล่าวว่า "ความมหัศจรรย์ของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เมื่อให้คนไข้รูมาตอยด์ ใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เพื่อรักษาความปวดตามข้อ ก็ได้รับรายงานจากคนไข้ว่าสามารถงอมือได้สะดวกยิ่งขึ้นและความเจ็บปวดก็หาย ไปนอกจากนี้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังดีสำหรับมารดาที่กำลังให้นมบุตร ช่วยเพิ่มการหลั่งของน้ำนม อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีคุณสมบัติในการช่วยขับถ่าย ปัสสาวะให้เป็นปกติได้อีกด้วย
[แก้] อัลฟัลฟา (Alfalfa) กับโรค มะเร็ง
มี การศึกษาทั้งในมนุษย์ สัตว์ และระบบเชื้อเพาะเลี้ยงพบว่า สาร phytoestrogens มีบทบาทที่สำคัญในการป้องกันโรค มะเร็ง ได้ โดยสารที่จัดว่าเป็นสารประเภท phytoestrogens จะรวมถึง isoflavones, coumestans, และ lignans ซึ่งในหน่อของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ถั่วเหลือง และต้น clover ถือว่าเป็นแหล่งอาหารทางธรรมชาติที่สำคัญของสารดังกล่าว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีข้อแนะนำในขนาดที่ควรรับประทานสาร phytoestrogens อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มการบริโภคอาหารประเภทดังกล่าวจะก่อประโยชน์และ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในร่างกายเราได้เป็นอย่างดี[แก้] รูปแบบและขนาดรับประทาน
รูป แบบของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ที่มีในปัจจุบันมีทั้งเป็นแบบผงชาใช้ชงรับประทาน เม็ด หรือแคปซูล โดยถ้าเป็นชาแนะนำให้ใช้ขนาด 1-2 ช้อนโต๊ะต่อถ้วยโดยต้มให้เดือดประมาณ 10-20 นาท สำหรับรูปแบบที่เป็นเม็ด ผงแคปซูลในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดขนาดการใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) สำหรับมนุษย์อย่างแน่นอน ผู้เชี่ยวชาญด้าน สมุนไพร บางคนแนะนำให้บริโภคขนาด 500-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือถ้าใช้ในรูปแบบของทิงเจอร์ให้ใช้ 3 ครั้งต่อวัน สำหรับกรณีใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เพื่อการบำบัดภาวะ คลอเลสเตอรอล สูง ขนาดที่แนะนำคือ 250-1000 มิลลิกรัม 2-3 ครั้งต่อวันพร้อมกับการรับประทานอาหารหลักโดย ผลิตภัณฑ์ อัลฟัลฟา (Alfalfa) นั้นจะต้องมีข้อความว่าปลอดจากสาร Canavanine และส่วนประกอบที่เป็นอันตรายอื่น จึงจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้เป็นธาตุอาหารเสริมได้อย่างปลอดภัย
[แก้] ข้อควรระวัง
- เนื่องจากปัจจุบัน อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีรูปแบบหลากหลายประเภท มีทั้งเป็นแบบผง หน่อ และเมล็ด ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีสาร L-cavanine ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดเซลล์เลือดผิดปกติ ม้ามขยายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามปัญหานี้จะหมดไปถ้าได้มีการให้ความร้อนแก่ อัลฟัลฟา (Alfalfa) นั้น- จากการศึกษาในสัตว์พบว่าการรับเมล็ดหรือหน่อของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมากจะก่อให้เกิดอาการ systemic lupus erythematosus (SLE) ได้ ซึ่งอาการ SLE นี้อาจเชื่อมโยงเกิดขึ้นกับคนที่รับประทาน อัลฟัลฟา (Alfalfa) ในรูปแบบเม็ดได้ โดยอาการของ SLE คือ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดผิดปกติขึ้นเอง ซึ่งลักษณะของอาการดังกล่าวคือ ข้อต่ออักเสบ ความเสี่ยงที่ไตและอวัยวะอื่นๆ จะเสียหายสูง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากกรดอะมิโน canavanine และปริมาณแคลลอรี่ โปรตีน แลไขมันที่มีอยู่มากในเมล็ด อัลฟัลฟา (Alfalfa)
- ในการใช้อาหารเสริม อัลฟัลฟา (Alfalfa) ไม่ควรใช้ร่วมกันอาหารเสริม Vitamin E เนื่องจาก วิตามิน จะไปขัดขวางการดูดซึม
- มีรายงานความเป็นพิษของหน่อ อัลฟัลฟา (Alfalfa) สดที่ติดเชื้อแบคทีเรียจากเมล็ดก่อนที่จะแตกหน่อ โดยในหน่อที่ยังสดของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) อาจมีแบคทีเรียอาศัยอยู่ จึงเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยในคนได้ถ้าได้บริโภคเข้าไป ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงแนะนำเด็กเล็ก และผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเรื้อรัง ควรหลีกเหลี่ยงการบริโภคหน่อของ อัลฟัลฟา (Alfalfa)
- อัลฟัลฟา (Alfalfa) อาจก่อให้เกิดอาการปวดท้องและท้องร่วงได้ ถ้ามีอาการดังกล่าวควรหยุดใช้ในทันที โดยสมุนไพรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง กรณีของหญิงมีครรภ์ หรือเด็กเล็กไม่ควรใช้
มะกอก
กลุ่มยากัน หรือ แก้เลือดออกตามไรฟัน | |||
มะกอก | |||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spondias cytherea Sonn. | |||
ชื่อสามัญ : Jew's plum, Otatheite apple | |||
วงศ์ : Anacardiaceae | |||
ชื่ออื่น : มะกอกฝรั่ง มะกอกหวาน (ภาคกลาง) | |||
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 7-12 เมตร เปลือกลำต้นสีเทาหรือน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ดอก ออกเป็นช่อแบบเพนิเคิล ตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพส ผล รูปไข่หรือรูปกระสวย มียางคล้ายไรไข่ปลา ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกมีสีส้ม เมล็ด กลมรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีขนแข็งที่เปลือกหุ้มเมล็ด ส่วนที่ใช้ : ผล เปลือก ใบ ยาง เมล็ด | |||
สรรพคุณ :
วิธีใช้ : ใช้ผลรับประทานเป็นผลไม้ และปรุงอาหาร | |||
มะขามป้อม
กลุ่มยากัน หรือ แก้เลือดออกตามไรฟัน |
มะขามป้อม |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica L. |
ชื่อสามัญ : Emblic myrablan, Malacca tree |
วงศ์ : Euphorbiaceae |
ชื่ออื่น : กำทวด (ราชบุรี) กันโตด (เขมร-จันทบุรี) สันยาส่า มั่งลู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-12 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาน กว้าง 1- 5 มม. ยาว 4-15 มม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี 5-6 กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้นๆ 3-5 อัน ก้านดอกสั้น ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.3-2 ซม. เป็นพูตื่นๆ 6 พู ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง ส่วนที่ใช้ : ผลสด น้ำจากผล |
สรรพคุณ :
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ผลโตเต็มที่ไม่จำกัดจำนวน กัดเนื้อเคี้ยวอมบ่อยๆ แก้ไอ หรือใช้ผลไม้สด 10-30 ผล ตำคั้นน้ำรับประทาน แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ สารเคมี : มะขามป้อมสดมีไวตามินซีประมาณ 1-2 % มะขามป้อม 1 ผล มีปริมาณไวตามินซีเท่ากับที่มีในส้ม 2 ผล นอกจากนี้พบ nicotinic acid, mucic acid, ellagic acid และ phyllemblic acid. |
มะละกอ
กลุ่มยากัน หรือ แก้เลือดออกตามไรฟัน | |||
มะละกอ | |||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carica papaya L. | |||
ชื่อสามัญ : Papaya, Pawpaw, Tree melon | |||
วงศ์ : Caricaceae | |||
ชื่ออื่น : มะก้วยเทศ (ภาคเหนือ) หมักหุ่ง (ลาว,นครราชสีมา,เลย) ลอกอ (ภาคใต้) กล้วยลา (ยะลา) แตงต้น (สตูล) | |||
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 3-6 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลออกขาว ลำต้นตรง ไม่มีแก่น แตกกิ่งก้านน้อย มีรอยแผลใบชัดเจน มียางขาวข้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรอบต้นหนาแน่นที่ปลายยอด ใบรูปฝ่ามือ ขนาด 80-120 ซม. ขอบใบเว้าเป็นแฉกลึกถึงแกนก้าน ก้านใบเป็นหลอด กลมกลวงยาว 25-100 ซม. ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อยาวห้อยลง ดอกสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ มีกลิ่นหอม ดอกเพศเมียสีขาว ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกมีขนาดใหญ่ กว่าดอกเพศผู้ ผล รูปกระสวย ผิวเรียบ เปลือกบาง มียางสีขาว ผลสดสีเขียวเข้ม พอสุกเปลี่ยนเป็นสีส้ม รับประทานได้ มีเมล็ดมาก เมล็ดกลม สีดำ มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวใส ส่วนที่ใช้ : ผลสุก ผลดิบ ยางจากผลหรือจากก้านใบ ราก | |||
สรรพคุณ :
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ข้อควรระวัง : สำหรับผู้ที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง สารเคมี :
| |||
มะแว้งเครือ
กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ | |||
มะแว้งเครือ | |||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum trilobatum L. | |||
วงศ์ : Solanaceae | |||
ชื่ออื่น : มะแว้งเถา (กรุงเทพฯ ) แขว้งเควีย (ตาก) | |||
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น ลำต้นกลม สีเขียวเป็นมัน มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ สีเขียวเป็นมัน แผ่นใบล่างมีหนามตามเส้นใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก ย่น ปลายแหลม โคนเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้สีเหลืองมี 5 อัน ผล รูปทรงกลม ขนาด 0.5 ซม. ผิวเรียบ ผลดิบสีเขียวมีลายขาว ผลสุกสีแดงใส เมล็ดแบน มีจำนวนมาก ส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ต้น ใบ ผลสดแก่โตเต็มที่ แต่ยังไม่สุก | |||
สรรพคุณ :
วิธีและปริมาณที่ใช้ แก้ไอ แก้โรคหืดหอบ ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร
รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ใช้ผลมะแว้ง โตเต็มที่ 10-20 ผล รับประทานเป็นอาหาร เป็นผักจิ้มน้ำพริก สารเคมี : ใบ มี Tomatid - 5 - en -3- ß - ol ดอก มี Alkaloids, Cellulose, Pectins Unidentified organic acid Lignins, Unidentified saponins ผล มี Enzyme oxidase, Vitamin A ค่อนข้างสูง | |||
มะกรูด
สรรพคุณ และ ประโยชน์ของมะกรูด
มะกรูด คงจะไม่มีใครไม่รู้จักกับสมุนไพรชนิดนี้ใช่ไหมค่ะ ในสรรพคุณและประโยชน์ของมะกรูดนั้นเรียกได้ว่ามีมากมาย และที่โด่งดังเห็นทีจะเป็นในเรื่องของ สรรพคุณของมะกรูด ที่ใช้ในการรักษาเส้นผมให้สวย ดกดำ และเงางาม รวมถึงดูแลหนังศรีษะให้สุขภาพดีเนี่ยแหละค่ะ เห็นไม่คุ่ะว่า ประโยชน์ของมะกรูด มีมากจริง ๆ แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านี้นะค่ะ เพราะ สรรพคุณของมะกรูด และ ประโยชน์ของมะกรูด มีมากเหลือเกิน เราจึงก็รวบรวมความรู้เกี่ยวกับ สรรพคุณของมะกรูด และ ประโยชน์ของมะกรูด มาบอกคุณ ๆ ที่มักจะใช้มะกรูดและกำลังคิดจะใช้สมุนไพรตัวนี้ในการรักษาโรคต่าง ๆ รวมถึงนำมาปรุงอาหารอีกด้วยนะค่ะ นั้นเราก็มาดูสรรพคุณของมะกรูดและประโยชน์ของมะกรูดกันเลยค่ะสรรพคุณ / ประโยชน์ของมะกรูด
ขับลมแก้จุกเสียด วิธีใช้
1. ตัดจุกผลมะกรูดคว้านไส้กลางออกเอามหาหิงส์ใส่แล้วปิดจุก นำไปเผาไฟจนดำเกรียมบดเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งรับประทาน จะช่วยขับลม แก้ปวดท้องหรือป้ายลิ้นเด็กอ่อน เป็นยาขับขี้เทาได้
2. น้ำมะกรูดใช้ถูกฟัน แก้เลือดออกตามไรฟัน
3. เอาผลมะกรูดมาดอง เป็นยาดองเปรี้ยวรับประทานขับลมขับระดู
4. เปลือกผลฝานบาง ๆ ชงน้ำเดือดใส่การะบูรเล็กน้อย รับประทานแก้ลมวิงเวียน
5. เปลือกฝนใช้ผสมในเครื่องสำอางบางชนิด เช่น แชมพู สบู (เชษฐา, 2525)
ขนาดการใช้และผลที่ได้รับจากการรักษาโรค
- แก้ลม บำรุงหัวใจ ใช้ผิวสดหั่นเป็นชิ้น ผสมการะบูรหนึ่งหยิบมือ ชงน้ำเดือด คนให้ละลาย ปิดฝาทิ้งไว้ 3 – 5 นาที ดื่มเอาแต่น้ำ ช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดี
- ยาขับเสมหะ แก้ไอ ใช้ผลมะกรูดผ่าซีกเติมเกลือลนไฟให้เปลือกนิ่มบีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อย ๆ
- เป็นยาสระผมหรืออาบ นำมะกรูดผ่าซีกลงในหม้อต้มอาบได้น้ำมันหอมระเหยอยู่บนผิวทำให้ผิวไม่แห้ง และรสเปรี้ยวของมะกรูดช่วยให้อาบสะอาดนอกจากนี้ใช้มะกรูดผ่าซีกเอาน้ำมาสระผม
นอกจากมะกรูดจะยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดีแล้วยังมีรายงานว่าน้ำมันจากใบมะกรูดจะกระตุ้นการเจริญของเชื้อราบางชนิดได้อีกด้วย เช่น กระตุ้นการสร้างเส้นใยของราพวกมูเคอร์ อัลเทอร์นาเรีย แอสเปอร์จิลลัส และกระตุ้นการสร้างสปอร์ของแอสเปอร์จิลลัส (บัญญัติ, 2527)
สารเคมีที่สำคัญ
สารเคมีที่สำคัญที่พบในมะกรูดนี้จะอยู่ในส่วนของน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีทั้งในส่วนใบและเปลือกของผลที่เรียกว่า ผิวมะกรูด โดยที่ผิวมะกรูดจะมีน้ำมันหอมระเหย 4 เปอร์เซ็นต์ และใบจะมีน้ำมันหอมระเหย 0.08 เปอร์เซ็นต์
มะกรูดเป็นพืชเครื่องเทศและพืชสมุนไพรมนุษย์ได้รู้จักนำเอาประโยชน์ที่ได้รับจากมะกรูดเป็นยารักษาโรคหรือส่วนผสมของยา ช่วยแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร ใช้ดองยาเพื่อใช้ฟอกเลือดและบำรุงโลหิตสตรี เนื้อของผลใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะและระงับการไอ ส่วนใบใช้ในการดับกลิ่นคาวในอาหารใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด และผลมะกรูดที่คว้านไส้ออกนำมหาหิงค์ใส่แทนใช้เป็นยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางและน้ำของมะกรูดมีกรด Citric ช่วยขจัดคราบสบู่ (ด่าง) ที่หลงเหลืออยู่ น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม นอกจากนี้ผิวมะกรูดจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ต่าง ๆ ได้ เพื่อกำจัดรังแคที่มาจากเชื้อรา
วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554
ประโยชน์ของมะเขือเทศ
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ : ในผลมะเขือเทศมีสารจำพวก แคโรทีนอยด์ ชื่อไลโคพีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารสีแดง และวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามิน บี 1 บี 2 วิตามิน เค โดยเฉพาะวิตามิน เอ และวิตามิน ซี มีในปริมาณสูง มีกลดมาลิค กรดซิตริก ซึ่งให้รสเปรี้ยว และมีกลูตามิค (Glutamic) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารเบต้าแคโรทีน และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เป็นต้น
สรรพคุณ ขนาดและวิธีใช้ :
ผลมีรสเปรี้ยว ช่วยดับกระหาย ทำให้เจริญอาหาร บำรุงและกระต้นกระเพาะอาหาร ลำไส้ ไต ให้ทำงานได้ดีด้วยช่วยขับพิษและสิ่งคั่งค้างในร่างกายเป็นยาระบายอ่อน ๆ และเหมาะที่จะเป็นอาหารสำหรับคนเป็นโรคนิ่ว วัณโรค ไทฟอยด์ หูอักเสบ และเหยื่อตาอักเสบ ให้รับประทานผลสด
ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยรับประทานมะเขือเทศเป็นประจำ
ผิวหนังที่โดนแดดเผา โดยใช้ใบตำให้ละเอียดทาบริเวณที่เป็น
แก้อาการปวดฟัน โดยนำราก ลำต้น และใบแก่ต้มกับน้ำรับประทาน
รักษาสิว สมานผิวหน้าให้เต่งตึง โดยใช้น้ำมะเขือเทศพอกหน้า หรืออาจจะมะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ แปะบนใบหน้า จะช่วยให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม
ช่วยลดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือด รักษาโรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงสายตา และช่วยย่อยอาหาร ลดความดันโลหิต และช่วยบรรเทาอาการป่วยของผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคตับอักเสบ โดยรับประทานมะเขือเทศสุกเป็นประจำ
ลดอาการท้องอืดเฟ้อ และอาหารไม่ย่อย ช่วยดับกระหายคลายร้อน และช่วยรักษาโรคแผลร้อนใน โดยคั้นน้ำมะเขือเทศสุกหรือปั่น ดื่มรับประทาน
ข้อควรสังเกต/ข้อควรระวัง :
1. น้ำจากผลมะเขือเทศสุกมีสารไลโคเปอร์ซิซิน (Lycopersicin) ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย
2. ใบมีฤทธิ์ฆ่าแมลง โดยชงกับน้ำร้อนใช้กำจัดหนอนและแมลง ที่มากินผักได้
2. ใบมีฤทธิ์ฆ่าแมลง โดยชงกับน้ำร้อนใช้กำจัดหนอนและแมลง ที่มากินผักได้
ประโยชน์ของขมิ้นชัน
เป็นเรื่องราวของขมิ้นชัน
ใช้กินเหง้าของขมิ้นชัน โดยการปอกเปลือก หรือตากแห้งแล้วบดเป็นผงใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง และแบบผงบรรจุแคปซูลเพื่อสะดวกแก่การกิน
ขมิ้นชันมีประโยชน์ และสรรพคุณ หลายประการดังนี้ขมิ้นชันมีวิตามิน เอ,ซี,อี ทั้ง 3 ตัว วิตามินที่เข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำงานได้ ต้องมีพร้อมกันทั้ง 3 ตัว ซึ่งจะมีผลทำให้ - ช่วยลดไขมันในตับ
- สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร
- ช่วยย่อยอาหาร
- ทำความสะอาดให้ลำไส้
- เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ
- ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ
- สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง
- กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่กินเข้าไปแล้วสะสมในร่างกายเตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง
- ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรได้ดี รองมาจากการกินหัวปลี
กินขมิ้นชันให้ตรงเวลากินตรงเวลาที่อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเปิดการทำงานในช่วงเวลานั้น จะได้ผลตรงประเด็นที่ต้องการจะบำรุง หรือแก้ไขฟื้นฟูของระบบของอวัยวะ กินเพียง 1 แคปซูลเท่านั้น จะออกฤทธิ์มากกว่าเวลาอื่นถึง 40 เท่าตัว แต่ถ้ามีปัญหาหลายอย่างก็กินครั้งละ 1 แคปซูล ทุกๆ 2 ชั่วโมง ถ้ากินในจำนวนมาก ส่วนที่เหลือจะไปขับไขมันในตับ
ไม่ใช่กินเป็นยา ต้องกินให้สนุก ไม่ต้องถึงกับเฮฮาปาร์ตี้ แค่ใช้ปรุงอาหารกินบ้าง หุงข้าวก็ใส่ขมิ้นชันได้ ทอดปลาคลุกขมิ้นชันก็ดี ทำให้หอมน่ากินและยังได้ประโยชน์อีกด้วย เพราะตัวขมิ้นชันจะช่วยย่อยไขมันจากน้ำมันที่ใช้ทอดปลาได้บางส่วน
นาฬิกาชีวิต (ความสัมพันธ์ของอวัยวะกับเวลา) ช่วงเวลา เป็นเวลาของ
03.00 - 05.00 น. ปอด
05.00 - 07.00 น. ลำไส้ใหญ่
07.00 - 09.00 น. กระเพาะอาหาร
09.00 - 11.00 น. ม้าม
11.00 - 13.00 น. หัวใจ
13.00 - 15.00 น. ลำไส้เล็ก
15.00 - 17.00 น. กระเพาะปัสสาวะ
17.00 - 19.00 น. ไต
19.00 - 21.00 น. เยื่อหุ้มหัวใจ
21.00 - 23.00 น. พลังงานรวม
23.00 - 01.00 น. ถุงน้ำดี
01.00 - 03.00 น. ตับ
กินขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้จะได้ผลโดยตรงกับอวัยวะส่วนนั้น
( เวลา 03.00 - 05.00 น. ) ช่วยบำรุงปอด ป้องกันการเป็นมะเรงปอด ช่วยทำให้ปอดแข็งแรง ช่วยเรื่องภูมิแพ้ของจมูกที่หายใจไม่สะดวก และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง
( เวลา 05.00 - 07.00 น. ) ช่วยแก้ไขปัญหาลำไส้ใหญ่ ถ้าเคยกินยาถ่ายมาเป็นเวลานาน ให้กินขมิ้นชันในเวลานี้ ขมิ้นชันจะฟื้นฟูปลายประสาทของสำไส้ใหญ่ ต้องกินเป็นประจำ ถึงจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบรัดตัวเพื่อขับถ่ายอย่างปกติ แก้ไขปัญหาลำไส้ใหญ่กลืนลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่มีปัญหาถ่ายมากเกินไปหรือถ่ายน้อยเกินไป แต่ถ้าลำไส้ใหญ่ไม่มีปัญหา ให้กินขมิ้ชันพร้อมกับสูตรโยเกิต+นมสด+น้ำผึ้ง+มะนาว หรือนำอุ่นก็ได้ จะไปช่วยล้างผนังลำไส้ที่มีหนวดเป็นขนเล็กๆอยู่เป็นล้านๆเส้น ซึ่งขนเหล่านี้มีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารเพื่อไปสร้างเม็ดเลือด ขมิ้นชันจะช่วยล้างให้สะอาดได้ ก็จะไม่ค่อยมีขยะตกค้าง จึงไม่เกิดแก๊สพิษที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว และจะไม่ค่อยเป็นริดสีดวงทวาร ไม่เป็นมะเร็งลำไส้
( เวลา07.00 - 09.000 น. ) ช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหาร เกิดจากการกินข้าวไม่เป็นเวลา ท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขาตึง ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันความจำเสื่อม
( เวลา 09.00 - 11.00 น. ) ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลในปาก อ้วนเกินไปผอมเกินไปที่เกี่ยวข้องกับม้าม ลดอาการเป็นเก๊าต์ ลดอาการเบาหวาน
( เวลา 11.00 -13.00 น. ) ใครมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ หรือไม่มี ก็กินขมิ้นชันเวลานี้ จะช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง ถ้าเลย 11.00 น. ไปแล้ว ขมิ้นชันจะไปทำงานที่ตับแล้วตับจะส่งมาที่ปอด ปอดจะส่งไปที่ผิวหนัง แต่ส่วนมากมาไม่ถึงเพราะกินขมิ้นชันน้อยเกินไป
( เวลา 13.00 - 15.00 น. ) ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องปวดท้องบ่อย เพราะมีไขมันเกาะลำไส้เล็ก ไขมันที่เคลือบลำไส้จะเคลือบขยะเอาไว้ด้วยแล้วสะสมกัน ทำให้เกิดแก๊ส และมีอาการปวดท้องตอนบ่ายในช่วงเวลานี้ ถ้ากินสูตรโยเกิต+นมสด+น้ำผึ้ง+มะนาว และขมิ้นชัน จะช่วยล้างลำไส้เล็กได้ดีที่สุด สูตรโยเกิตนี้ตัวจุลินทรีย์จะช่วยเปลี่ยนขยะในลำไส้เล็กให้เป็น บี 12 เพื่อส่งไปเลี้ยงสมองต่อไป
( เวลา 15.00 - 17.00 น. ) ช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้ปัญหาเรื่องตกขาวของสตรี และควรกินน้ำกระชายเวลานี้ด้วย จะช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง ช่วงเวลานี้ควรทำให้เหงื่อออกจะดีมาก เพราะร่างกายต้องการขับสารพิษให้ได้มากที่สุดในเวลานี้
กินเหลือเลยเวลาจากช่วงนี้จนไปถึงการกินก่อนนอน ขมิ้นชันจะไปช่วยเรื่องความจำให้ความจำดี ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้าจะไม่ค่อยเพลีย และช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น การกินขมิ้นชันมากจะช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ผิวหนังไม่ให้เป็นผดผื่นคันง่ายๆ และช่วยขับไขมันในตับ ถ้ากินในปริมาณมาก
การกินขมิ้นชัน แบบผงหรือบรรจุแคปซูล ควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่มีมาตรฐานและสะอาดเชื่อถือได้ ไร้สารเคมีไม่มีสเตอรอย์ที่เกิดจากการอบแห้งด้วยความร้อนเกิน 65 องศา ควรตัดสินใจเอง เพราะเราจะต้องกินทุกวัน ก็ควรกินให้ปลอดภัยและสบายใจ
ถ้ากินขมิ้นชัน แบบผง 1 ช้อนชา ใช้ผสมน้ำ 1 แก้ว(ไม่เต็ม) ขมิ้นชันจะไหลผ่านส่วนต่างๆ ตั้งแต่
- ผ่านลำคอ ช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ลำคอ แล้วไปผ่านปอดช่วยดูแลปอดให้หายใจดีขึ้น ลดความชื้นของปวด
- ผ่านม้าม ก็ลดไขมัน และปรับน้ำเหลืองไม่ให้น้ำเหลืองเสีย
- ผ่านกระเพาะอาหาร ก็จะรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
- ผ่านลำไส้ ก็สมานแผลในลำไส้
- ผ่านตับ ก็ไปบำรุงตับ ล้างไขมันในตับ
ขมิ้นชันยังช่วยดูแลเซลล์ต่างๆ ที่ฉีกขาด ก็จะไปเชื่อมให้ และไปกวาดขยะ กวาดไขมันมากองไว้ ถ้าจะอุ้มขยะไปทิ้งโดยการขับถ่ายก็กินอาหารปกติ เช่น พืช ผัก ผลไม้ ที่มีกากใย หรือ กินน้ำลูกสำรอง(พุงทลาย) เพื่ออุ้มไขมัน อุ้มแก๊สไปทิ้ง
*คนธาตุเบา แสดงว่ามีการระคายเคือง อักเสบ เป็นแผลเรื้อรังบางอย่างที่ผนังลำไส้เป็นอาจิณ
*คนธาตุหนัก แสดงว่าปลายประสาทลำไส้ใหญ่เสื่อม อาจเกิดจากการกินยาถ่ายเป็นประจำ หรือกินน้ำน้อย
ทั้งธาตุเบาและธาตุหนัก ไม่ดีทั้งคู่ ถ้าเป็นอย่างนี้แสดงว่ามีปัญหาที่ลำไส้ และปลายประสาทลำไส้ใหญ่ผิดปกติ หากปล่อยไว้ วันข้างหน้าจะมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ควรกินขมิ้นชันเป็นประจำ เพื่อค่อยๆ ปรับให้เข้าที่แล้ว กลับมาถ่ายได้อย่างปกติ
ใช้กินเหง้าของขมิ้นชัน โดยการปอกเปลือก หรือตากแห้งแล้วบดเป็นผงใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง และแบบผงบรรจุแคปซูลเพื่อสะดวกแก่การกิน
ขมิ้นชันมีประโยชน์ และสรรพคุณ หลายประการดังนี้ขมิ้นชันมีวิตามิน เอ,ซี,อี ทั้ง 3 ตัว วิตามินที่เข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำงานได้ ต้องมีพร้อมกันทั้ง 3 ตัว ซึ่งจะมีผลทำให้ - ช่วยลดไขมันในตับ
- สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร
- ช่วยย่อยอาหาร
- ทำความสะอาดให้ลำไส้
- เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ
- ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ
- สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง
- กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่กินเข้าไปแล้วสะสมในร่างกายเตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง
- ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรได้ดี รองมาจากการกินหัวปลี
กินขมิ้นชันให้ตรงเวลากินตรงเวลาที่อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเปิดการทำงานในช่วงเวลานั้น จะได้ผลตรงประเด็นที่ต้องการจะบำรุง หรือแก้ไขฟื้นฟูของระบบของอวัยวะ กินเพียง 1 แคปซูลเท่านั้น จะออกฤทธิ์มากกว่าเวลาอื่นถึง 40 เท่าตัว แต่ถ้ามีปัญหาหลายอย่างก็กินครั้งละ 1 แคปซูล ทุกๆ 2 ชั่วโมง ถ้ากินในจำนวนมาก ส่วนที่เหลือจะไปขับไขมันในตับ
กินขมิ้นชันให้เป็นอาหาร
ไม่ใช่กินเป็นยา ต้องกินให้สนุก ไม่ต้องถึงกับเฮฮาปาร์ตี้ แค่ใช้ปรุงอาหารกินบ้าง หุงข้าวก็ใส่ขมิ้นชันได้ ทอดปลาคลุกขมิ้นชันก็ดี ทำให้หอมน่ากินและยังได้ประโยชน์อีกด้วย เพราะตัวขมิ้นชันจะช่วยย่อยไขมันจากน้ำมันที่ใช้ทอดปลาได้บางส่วน
ถ้ากินขมิ้นชันสดๆต้องปอกเปลือกออกให้หมดก่อน เพราะที่เปลือกมีสารพิษอยู่ แต่ถ้าทำขมิ้นชันบดเป็นผงต้องนำขมิ้นชันมาต้มน้ำให้เดือดสักพักหนึ่ง แล้วตักออกนำมาผึ่งให้เย็นหั่นเป็นแว่นเล็กๆ ตากแดดจนแห้ง อาจจะตากหลายครั้ง แล้วถึงจะนำมาบดให้เป็นผง ถ้าใช้เครื่องอบให้ขมิ้นชันแห้ง ความร้อนควรไม่เกิน 65 องศา ถ้าความร้อนเกินอาจเกิดสารสเตรอยด์ได้
นาฬิกาชีวิต (ความสัมพันธ์ของอวัยวะกับเวลา) ช่วงเวลา เป็นเวลาของ
03.00 - 05.00 น. ปอด
05.00 - 07.00 น. ลำไส้ใหญ่
07.00 - 09.00 น. กระเพาะอาหาร
09.00 - 11.00 น. ม้าม
11.00 - 13.00 น. หัวใจ
13.00 - 15.00 น. ลำไส้เล็ก
15.00 - 17.00 น. กระเพาะปัสสาวะ
17.00 - 19.00 น. ไต
19.00 - 21.00 น. เยื่อหุ้มหัวใจ
21.00 - 23.00 น. พลังงานรวม
23.00 - 01.00 น. ถุงน้ำดี
01.00 - 03.00 น. ตับ
กินขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้จะได้ผลโดยตรงกับอวัยวะส่วนนั้น
( เวลา 03.00 - 05.00 น. ) ช่วยบำรุงปอด ป้องกันการเป็นมะเรงปอด ช่วยทำให้ปอดแข็งแรง ช่วยเรื่องภูมิแพ้ของจมูกที่หายใจไม่สะดวก และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง
( เวลา 05.00 - 07.00 น. ) ช่วยแก้ไขปัญหาลำไส้ใหญ่ ถ้าเคยกินยาถ่ายมาเป็นเวลานาน ให้กินขมิ้นชันในเวลานี้ ขมิ้นชันจะฟื้นฟูปลายประสาทของสำไส้ใหญ่ ต้องกินเป็นประจำ ถึงจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบรัดตัวเพื่อขับถ่ายอย่างปกติ แก้ไขปัญหาลำไส้ใหญ่กลืนลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่มีปัญหาถ่ายมากเกินไปหรือถ่ายน้อยเกินไป แต่ถ้าลำไส้ใหญ่ไม่มีปัญหา ให้กินขมิ้ชันพร้อมกับสูตรโยเกิต+นมสด+น้ำผึ้ง+มะนาว หรือนำอุ่นก็ได้ จะไปช่วยล้างผนังลำไส้ที่มีหนวดเป็นขนเล็กๆอยู่เป็นล้านๆเส้น ซึ่งขนเหล่านี้มีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารเพื่อไปสร้างเม็ดเลือด ขมิ้นชันจะช่วยล้างให้สะอาดได้ ก็จะไม่ค่อยมีขยะตกค้าง จึงไม่เกิดแก๊สพิษที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว และจะไม่ค่อยเป็นริดสีดวงทวาร ไม่เป็นมะเร็งลำไส้
( เวลา07.00 - 09.000 น. ) ช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหาร เกิดจากการกินข้าวไม่เป็นเวลา ท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขาตึง ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันความจำเสื่อม
( เวลา 09.00 - 11.00 น. ) ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลในปาก อ้วนเกินไปผอมเกินไปที่เกี่ยวข้องกับม้าม ลดอาการเป็นเก๊าต์ ลดอาการเบาหวาน
( เวลา 11.00 -13.00 น. ) ใครมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ หรือไม่มี ก็กินขมิ้นชันเวลานี้ จะช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง ถ้าเลย 11.00 น. ไปแล้ว ขมิ้นชันจะไปทำงานที่ตับแล้วตับจะส่งมาที่ปอด ปอดจะส่งไปที่ผิวหนัง แต่ส่วนมากมาไม่ถึงเพราะกินขมิ้นชันน้อยเกินไป
( เวลา 13.00 - 15.00 น. ) ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องปวดท้องบ่อย เพราะมีไขมันเกาะลำไส้เล็ก ไขมันที่เคลือบลำไส้จะเคลือบขยะเอาไว้ด้วยแล้วสะสมกัน ทำให้เกิดแก๊ส และมีอาการปวดท้องตอนบ่ายในช่วงเวลานี้ ถ้ากินสูตรโยเกิต+นมสด+น้ำผึ้ง+มะนาว และขมิ้นชัน จะช่วยล้างลำไส้เล็กได้ดีที่สุด สูตรโยเกิตนี้ตัวจุลินทรีย์จะช่วยเปลี่ยนขยะในลำไส้เล็กให้เป็น บี 12 เพื่อส่งไปเลี้ยงสมองต่อไป
( เวลา 15.00 - 17.00 น. ) ช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้ปัญหาเรื่องตกขาวของสตรี และควรกินน้ำกระชายเวลานี้ด้วย จะช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง ช่วงเวลานี้ควรทำให้เหงื่อออกจะดีมาก เพราะร่างกายต้องการขับสารพิษให้ได้มากที่สุดในเวลานี้
กินเหลือเลยเวลาจากช่วงนี้จนไปถึงการกินก่อนนอน ขมิ้นชันจะไปช่วยเรื่องความจำให้ความจำดี ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้าจะไม่ค่อยเพลีย และช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น การกินขมิ้นชันมากจะช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ผิวหนังไม่ให้เป็นผดผื่นคันง่ายๆ และช่วยขับไขมันในตับ ถ้ากินในปริมาณมาก
การกินขมิ้นชัน แบบผงหรือบรรจุแคปซูล ควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่มีมาตรฐานและสะอาดเชื่อถือได้ ไร้สารเคมีไม่มีสเตอรอย์ที่เกิดจากการอบแห้งด้วยความร้อนเกิน 65 องศา ควรตัดสินใจเอง เพราะเราจะต้องกินทุกวัน ก็ควรกินให้ปลอดภัยและสบายใจ
ถ้ากินขมิ้นชัน แบบผง 1 ช้อนชา ใช้ผสมน้ำ 1 แก้ว(ไม่เต็ม) ขมิ้นชันจะไหลผ่านส่วนต่างๆ ตั้งแต่
- ผ่านลำคอ ช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ลำคอ แล้วไปผ่านปอดช่วยดูแลปอดให้หายใจดีขึ้น ลดความชื้นของปวด
- ผ่านม้าม ก็ลดไขมัน และปรับน้ำเหลืองไม่ให้น้ำเหลืองเสีย
- ผ่านกระเพาะอาหาร ก็จะรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
- ผ่านลำไส้ ก็สมานแผลในลำไส้
- ผ่านตับ ก็ไปบำรุงตับ ล้างไขมันในตับ
ขมิ้นชันยังช่วยดูแลเซลล์ต่างๆ ที่ฉีกขาด ก็จะไปเชื่อมให้ และไปกวาดขยะ กวาดไขมันมากองไว้ ถ้าจะอุ้มขยะไปทิ้งโดยการขับถ่ายก็กินอาหารปกติ เช่น พืช ผัก ผลไม้ ที่มีกากใย หรือ กินน้ำลูกสำรอง(พุงทลาย) เพื่ออุ้มไขมัน อุ้มแก๊สไปทิ้ง
*คนธาตุเบา แสดงว่ามีการระคายเคือง อักเสบ เป็นแผลเรื้อรังบางอย่างที่ผนังลำไส้เป็นอาจิณ
*คนธาตุหนัก แสดงว่าปลายประสาทลำไส้ใหญ่เสื่อม อาจเกิดจากการกินยาถ่ายเป็นประจำ หรือกินน้ำน้อย
ทั้งธาตุเบาและธาตุหนัก ไม่ดีทั้งคู่ ถ้าเป็นอย่างนี้แสดงว่ามีปัญหาที่ลำไส้ และปลายประสาทลำไส้ใหญ่ผิดปกติ หากปล่อยไว้ วันข้างหน้าจะมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ควรกินขมิ้นชันเป็นประจำ เพื่อค่อยๆ ปรับให้เข้าที่แล้ว กลับมาถ่ายได้อย่างปกติ
แตงกวากับความสวยความงาม
ประโยชน์ของแตงกวาแตงกวามีน้ำเป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ 96 จึงมีคุณสมบัติแก้กระหาย และเพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยการกำจัดของเสียตกค้างในร่างกาย
นอกจากนี้แตงกวามีสารอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ วิตามินซี กรดคาเฟอิก กรดทั้ง 2 นี้ป้องกันการสะสมน้ำเกินจำเป็นในร่างกาย
เปลือกแตงกวามีกากใยอาหาร และแร่ธาตุจำเป็น เช่น ซิลิก้า โพแทสเซียม โมลิบดีนั่ม แมงกานีส และแมกนีเซียม
ซิลิก้าเป็นแร่ธาตุที่เสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน เส้นเอ็น และกระดูก
ปริมาณเส้นใย ธาตุโพแทสเซียมและแมงกานีสในเปลือกแตงกวาช่วยควบคุมความดันเลือดและความสมดุลของสารอาหารในร่างกาย ธาตุแมกนีเซียมช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และระบบการหมุนเวียนเลือด เส้นใยอาหารควบคุมระดับคอเลสเตอรอลและช่วยระบบขับถ่ายโดยมีพลังงานต่ำเหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
แตงกวาเป็นผักที่เหมาะกับการกินยามอากาศร้อนเพราะลดความร้อนและช่วยให้ร่างกายสดชื่น มีสารฟีนอลทำหน้าที่ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น นอกจากนี้ น้ำแตงกวายังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ลดอาการนอนไม่หลับ ลดกรดกระเพาะอาหาร แก้กระหายน้ำ และลดอาการโรคเกาต์ โรคไขข้อรูมาติสม์ และอาการบวมน้ำอีกด้วย
แตงกวากับสุขภาพและความงาม
ป้องกันสิวและสิวหัวดำ
ใช้เนื้อแตงกวาขูดฝอยพอกบริเวณหน้าและคอเป็นเวลา 15-20 นาที บำรุงผิว ถ้าใช้บ่อยจะป้องกันผิวหน้าแห้ง ป้องกันการเกิดสิวและสิวหัวดำ
ผิวหน้าสดใสใช้น้ำมะนาวเล็กน้อยและน้ำลอยกลีบกุหลาบ (ที่ปลูกเองแบบปลอดสาร ใช้กลีบกุหลาบมากหน่อย น้ำไม่ต้องมาก วัตถุประสงค์คือให้น้ำมันหอมจากกลีบกุหลาบออกมาอยู่ในน้ำ) ผสมกับน้ำคั้นผลแตงกวา ทาบนผิวหน้าเพื่อทำให้ใบหน้าสดใส (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีผิวมัน)
ผิวหน้าผุดผ่องใช้น้ำคั้นผลแตงกวาและนมสดปริมาณเท่าๆกัน เติมน้ำลอยกลีบกุหลาบ 2-3 หยด ทาหน้านาน 15-20 นาที ทำให้ผิวหน้านุ่มและขาวขึ้น
ลบถุงดำใต้ตา
ใช้น้ำคั้นผลแตงกวา 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำคั้นมันฝรั่ง 1 ช้อนโต๊ะ ทารอบขอบตา พักราว 15 นาทีจึงล้างออก
บำรุงผิวผสมน้ำคั้นแตงกวา น้ำมะนาว น้ำส้ม น้ำแช่กลีบกุหลาบ กลีเซอรีน และน้ำผึ้งอย่างละเท่าๆกัน ใช้ทาผิวให้ตึงกระชับเพิ่มความอ่อนเยาว์
ลดรอยหมองคล้ำใต้รักแร้
ผสมน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ น้ำคั้นผลแตงกวา 1 ช้อนชา น้ำมะนาว 1 ช้อนชา และผงขมิ้นครึ่งช้อนชา หลังจากอาบน้ำเช็ดตัวให้ใช้สำลีชุบน้ำมันมะพร้าวเช็ดบริเวณใต้รักแร้เป็นวงกลม หลังจากนั้นผสมน้ำแตงกวา น้ำมะนาว และผงขมิ้นให้เข้ากัน ทาใต้รักแร้ทิ้งไว้ 20 นาที จากนั้นล้างออกและเช็ดให้แห้ง ทำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
ช่วยการเจริญของผมให้ดื่มน้ำคั้นผลแตงกวาและน้ำแครอตเป็นประจำ ซิลิก้าและกำมะถันในน้ำแตงกวาบำรุงเส้นผม เล็บและผิวหนัง
ทรีตเม้นท์ลดความเสียหายของผมจากคลอรีน
ผสมไข่ 1 ฟอง น้ำมันมะกอก 3 ช้อนชา และแตงกวาปอกแล้ว 1 ส่วน 4 ผล ชโลมบนเส้นผม ทิ้งไว้ 10 นาทีจึงล้างออก
ลบรอยด่างดำการดื่มน้ำคั้นผลแตงกวาจะช่วยลดรอยด่างดำบนผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่องรอยยุงกัด และให้ทาน้ำแตงกวาผสมน้ำลอยกลีบกุหลาบอัตราส่วนเท่าๆ กันด้วย
แก้อาการเจ็บคอ
แก้อาการเจ็บคอโดยกลั้วคอด้วยน้ำคั้นผลแตงกวาวันละอย่างน้อย 3 ครั้ง
แก้อาการท้องผูกน้ำคั้นผลแตงกวาเป็นยาระบายอย่างอ่อน ลดกรดในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะและช่วยการขับถ่าย
มิตรแท้ของดวงตาหั่นแตงกวาเป็นแว่นตามขวาง หลับตาวางแว่นแตงกวาลงบนเปลือกตา นอนในที่เงียบแสงสลัวๆ จะบรรเทาอาการเหนื่อยล้าของดวงตา ที่เกิดจากการใช้งานนานๆ ได้รับฝุ่นควัน แสงจ้า หรือใส่คอนแท็กเลนส์นานเกินไป
ฟังสรรพคุณมามากแล้ว วันนี้ไปลองดื่มน้ำคั้นผลแตงกวากันดีกว่า
แตงกวา 2 ผลหรือแตงร้านหนึ่งผล น้ำ 2 ถ้วย น้ำแข็ง 1 ถ้วย น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะหรือตามชอบ น้ำมะนาวครึ่งผล ใส่เครื่องปั่นจนเป็นเนื้อเดียวกัน อาจใส่ผลไม้อื่นด้วยเช่นแคนทาลูปหรือแตงโม ถ้าใส่ผลไม้อื่นสามารถลดน้ำตาลได้อีกด้วย หรืออาจใช้น้ำเพียง 1 ถ้วย ปั่นแล้วเทใส่แก้วเติมโซดาเย็น 1 ถ้วยก็ได้
นอกจากนี้แตงกวามีสารอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ วิตามินซี กรดคาเฟอิก กรดทั้ง 2 นี้ป้องกันการสะสมน้ำเกินจำเป็นในร่างกาย
เปลือกแตงกวามีกากใยอาหาร และแร่ธาตุจำเป็น เช่น ซิลิก้า โพแทสเซียม โมลิบดีนั่ม แมงกานีส และแมกนีเซียม
ซิลิก้าเป็นแร่ธาตุที่เสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน เส้นเอ็น และกระดูก
ปริมาณเส้นใย ธาตุโพแทสเซียมและแมงกานีสในเปลือกแตงกวาช่วยควบคุมความดันเลือดและความสมดุลของสารอาหารในร่างกาย ธาตุแมกนีเซียมช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และระบบการหมุนเวียนเลือด เส้นใยอาหารควบคุมระดับคอเลสเตอรอลและช่วยระบบขับถ่ายโดยมีพลังงานต่ำเหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
แตงกวาเป็นผักที่เหมาะกับการกินยามอากาศร้อนเพราะลดความร้อนและช่วยให้ร่างกายสดชื่น มีสารฟีนอลทำหน้าที่ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น นอกจากนี้ น้ำแตงกวายังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ลดอาการนอนไม่หลับ ลดกรดกระเพาะอาหาร แก้กระหายน้ำ และลดอาการโรคเกาต์ โรคไขข้อรูมาติสม์ และอาการบวมน้ำอีกด้วย
แตงกวากับสุขภาพและความงาม
ป้องกันสิวและสิวหัวดำ
ใช้เนื้อแตงกวาขูดฝอยพอกบริเวณหน้าและคอเป็นเวลา 15-20 นาที บำรุงผิว ถ้าใช้บ่อยจะป้องกันผิวหน้าแห้ง ป้องกันการเกิดสิวและสิวหัวดำ
ผิวหน้าสดใสใช้น้ำมะนาวเล็กน้อยและน้ำลอยกลีบกุหลาบ (ที่ปลูกเองแบบปลอดสาร ใช้กลีบกุหลาบมากหน่อย น้ำไม่ต้องมาก วัตถุประสงค์คือให้น้ำมันหอมจากกลีบกุหลาบออกมาอยู่ในน้ำ) ผสมกับน้ำคั้นผลแตงกวา ทาบนผิวหน้าเพื่อทำให้ใบหน้าสดใส (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีผิวมัน)
ผิวหน้าผุดผ่องใช้น้ำคั้นผลแตงกวาและนมสดปริมาณเท่าๆกัน เติมน้ำลอยกลีบกุหลาบ 2-3 หยด ทาหน้านาน 15-20 นาที ทำให้ผิวหน้านุ่มและขาวขึ้น
ลบถุงดำใต้ตา
ใช้น้ำคั้นผลแตงกวา 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำคั้นมันฝรั่ง 1 ช้อนโต๊ะ ทารอบขอบตา พักราว 15 นาทีจึงล้างออก
บำรุงผิวผสมน้ำคั้นแตงกวา น้ำมะนาว น้ำส้ม น้ำแช่กลีบกุหลาบ กลีเซอรีน และน้ำผึ้งอย่างละเท่าๆกัน ใช้ทาผิวให้ตึงกระชับเพิ่มความอ่อนเยาว์
ลดรอยหมองคล้ำใต้รักแร้
ผสมน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ น้ำคั้นผลแตงกวา 1 ช้อนชา น้ำมะนาว 1 ช้อนชา และผงขมิ้นครึ่งช้อนชา หลังจากอาบน้ำเช็ดตัวให้ใช้สำลีชุบน้ำมันมะพร้าวเช็ดบริเวณใต้รักแร้เป็นวงกลม หลังจากนั้นผสมน้ำแตงกวา น้ำมะนาว และผงขมิ้นให้เข้ากัน ทาใต้รักแร้ทิ้งไว้ 20 นาที จากนั้นล้างออกและเช็ดให้แห้ง ทำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
ช่วยการเจริญของผมให้ดื่มน้ำคั้นผลแตงกวาและน้ำแครอตเป็นประจำ ซิลิก้าและกำมะถันในน้ำแตงกวาบำรุงเส้นผม เล็บและผิวหนัง
ทรีตเม้นท์ลดความเสียหายของผมจากคลอรีน
ผสมไข่ 1 ฟอง น้ำมันมะกอก 3 ช้อนชา และแตงกวาปอกแล้ว 1 ส่วน 4 ผล ชโลมบนเส้นผม ทิ้งไว้ 10 นาทีจึงล้างออก
ลบรอยด่างดำการดื่มน้ำคั้นผลแตงกวาจะช่วยลดรอยด่างดำบนผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่องรอยยุงกัด และให้ทาน้ำแตงกวาผสมน้ำลอยกลีบกุหลาบอัตราส่วนเท่าๆ กันด้วย
แก้อาการเจ็บคอ
แก้อาการเจ็บคอโดยกลั้วคอด้วยน้ำคั้นผลแตงกวาวันละอย่างน้อย 3 ครั้ง
แก้อาการท้องผูกน้ำคั้นผลแตงกวาเป็นยาระบายอย่างอ่อน ลดกรดในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะและช่วยการขับถ่าย
มิตรแท้ของดวงตาหั่นแตงกวาเป็นแว่นตามขวาง หลับตาวางแว่นแตงกวาลงบนเปลือกตา นอนในที่เงียบแสงสลัวๆ จะบรรเทาอาการเหนื่อยล้าของดวงตา ที่เกิดจากการใช้งานนานๆ ได้รับฝุ่นควัน แสงจ้า หรือใส่คอนแท็กเลนส์นานเกินไป
ฟังสรรพคุณมามากแล้ว วันนี้ไปลองดื่มน้ำคั้นผลแตงกวากันดีกว่า
แตงกวา 2 ผลหรือแตงร้านหนึ่งผล น้ำ 2 ถ้วย น้ำแข็ง 1 ถ้วย น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะหรือตามชอบ น้ำมะนาวครึ่งผล ใส่เครื่องปั่นจนเป็นเนื้อเดียวกัน อาจใส่ผลไม้อื่นด้วยเช่นแคนทาลูปหรือแตงโม ถ้าใส่ผลไม้อื่นสามารถลดน้ำตาลได้อีกด้วย หรืออาจใช้น้ำเพียง 1 ถ้วย ปั่นแล้วเทใส่แก้วเติมโซดาเย็น 1 ถ้วยก็ได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)