ใสๆๆๆ

บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้สนใจในเรื่องของสมุนไพร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการทานโสม

อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการทานโสม


“ ปฏิกิริยาเม็งเค่น ( อาการฟื้นจากความเจ็บป่วย ) ”
คืออาการชั่วคราวที่เกิดขึ้น เป็นอาการที่บ่งบอกถึงความเจ็บป่วยกำลังได้รับการบำบัด และจะฟื้นคืนสู่สภาพปกติ ซึ่งแต่ละคนจะเกิดอาการที่แตกต่างกันไป บางคนก็ไม่เกิดอาการเลยก็มี ซึ่งอาการเหล่านี้มักมีผู้เข้าใจผิดคิดว่า เป็นอาการแพ้โสม หรือเป็นอาการข้างเคียงตัวอย่างอาการที่อาจเกิดขึ้น เช่น คลื่นไส้ มีจุดแดงเกิดขึ้นตามร่างกาย มึนศรีษะ คล้ายอาการท้องเสีย ครั่นเนื้อครั่นตัวคล้ายเป็นไข้ เป็นต้น อาการเหล่านี้บ่งบอกให้รู้ว่า ร่างกายกำลังถูกปรับสภาพโดยสารพิษจะถูกขับออกจากร่างกาย ท่านอย่าตกใจจนต้องเลิกทานโสม ท่านควรจะดื่มน้ำมาก ๆ และทานโสมต่อไปอย่างปกติ แต่ให้ลดปริมาณลง อาการที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆ หายไปซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์


ข้อแนะนำในการใช้โสม


“ โสมเกาหลี จะได้ผลดีที่สุดถ้ารับประทานในขณะท้องว่าง ”
โสมเกาหลีสามารถทานได้ทุกเวลา และไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองแก่กระเพาะอาหาร โดยเฉพาะการทานในขณะท้องว่างนั้น จะทำให้สารสกัดถูกดูดซึมได้ง่ายเพราะกระเพาะอาหารว่าง

ฉะนั้น จึงขอแนะนำให้ทานโสมในช่วงหลังจากตื่นนอนก่อนอาหารเช้า ,ช่วงระหว่างมื้ออาหาร ,และช่วงก่อนเข้านอน สำหรับปริมาณความต้องการโสมสำหรับแต่ละคนนั้นย่อมแตกต่างกันไป และมีวิธีการทานเพื่อให้เหมาะสมกับอาการป่วยของผู้ดื่มก็แตกต่างกันด้วย

ชนิดของโสม

ชนิดของโสม


โสม...เป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับ และขนานนามมานับพันปีว่าเป็น “ ราชาแห่งมวลสมุนไพร ” ประกอบด้วยคุณค่าทางยาต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการบำรุงรักษาสุขภาพ ในสมัยโบราณ โสมเป็นสมุนไพรที่หายากมากต้องไปขุดตามป่าเขาแต่ปัจจุบัน โสมได้ถูกนำมาเพาะปลูก เพื่อใช้ทำประโยชน์ทางยาที่ใช้บำรุงสุขภาพ โสมจากเกาหลี ได้รับการยอมรับว่าเป็นโสมที่มีคุณภาพดีที่สุด เพราะประเทศเกาหลีมีสภาพของดินและภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกโสม สำหรับในประเทศไทย มีความเข้าใจเรื่องโสมค่อนข้างจะคลุมเครือมาก โดยเฉพาะเรื่องโสมขาว และโสมแดง หลายคนคิดว่า เป็นโสมคนละพันธุ์หรือคนละชนิดกัน ซึ่งที่จริงเป็นการเรียกชื่อตามการแปรรูปของโสม โดยมาจากรากโสมสดชนิดเดียวกัน

ชนิดของโสม สามารถแบ่งตามการเก็บรักษา หรือการแปรรูปได้ดังนี้

- โสมสำเร็จรูปจากรากโสมสด คือการนำรากโสมสดมาแปรรูปโดยตรงซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสามารถนำรากโสมสดมาแปรรูปได้ทันทีไม่จำเป็นต้องนำไปเก็บรักษาในรูปของ โสมขาว หรือโสมแดง อีกซึ่งต่างจากสมัยโบราณที่ต้องนำรากโสมที่หาได้มาตากแห้ง หรือนำมานึ่งแล้วเก็บรักษาไว้ให้อยู่ได้นานๆ ปัจจุบันเราสามารถนำรากโสมสดมาแปรรูปได้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น หัวสกัดโสมเข้มข้น 100% รากโสมสดแช่อิ่มน้ำผึ้งชาโสม รากโสมสดดองเหล้า รากโสมอบกรอบ แยมรากโสมเป็นต้น หรือสามารถนำรากโสมสดมาต้ม หรือตุ๋นเป็นยาบำรุงสุขภาพ หรือใช้รากโสมสดใช้ประกอบอาหารได้โดยตรง

-โสมขาว
คือการนำรากโสมสดมาตากแห้ง เพื่อการเก็บรักษารากโสมจะมีลักษณะเป็นสีขาวซีด ซึ่งคนจีนเรียกโสมชนิดนี้ว่า “ หยิ่งเซียม ” สามารถนำโสมขาวไปแปรรูป เช่น บดเป็นผงโสมบรรจุเป็นแคปซูล นำรากโสมไปต้มเอาน้ำดื่ม ใช้ตุ๋นกับอาหารเป็นยาสมุนไพรบำรุงร่างกาย เป็นต้น

- โสมแดง
คือการนำรากโสมสดมานึ่งเพื่อการเก็บรักษา รามโสมจะมีลักษณะแห้งแข็ง มีสีน้ำตาลเข้ม หรือสีแดง จึงเรียกว่าโสมแดง คนจีนเรียกโสมชนิดนี้ว่า "เกาหลี้" สามารถนำโสมแดงไปแปรรูป เช่น นำไปสกัดเป็นหัวสกัดโสมเข้มข้น นำไปบดเป็นผงบรรจุแค็ปซูล นำไปทำเป็นชาโสม ใช้ดองเหล้า หรือนำไปต้มหรือตุ๋นกับอาหาร เป็นต้น


โสมกับความเชื่อเรื่องยาอายุวัฒนะ

โสม (Ginsing) เป็นสมุนไพรที่ใช้กันในแถบเอเชียมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว เดิมมีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เกาหลี และไซบีเรีย ในตำรับเภสัชของจีนได้กล่าวถึงสรรพคุณของรากโสมว่าช่วยทำให้อวัยวะภายในเป็นปกติ สงบ ไม่มีอารมณ์หวั่นไหว ฟุ้งซ่าน ทำให้สุขภาพดี ทำให้ตาแจ่มใส จิตใจแช่มชื่น เพิ่มความฉลาด ในประเทศไทยมีผู้นิยมรับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง นับเป็นสมุนไพรที่มีราคาแพง

โสมที่มีการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมี และนำมาใช้กัน มากที่สุดมี 2 ชนิด คือ โสมเอเชีย ซึ่งนิยมเรียกว่า โสมจีน หรือโสมเกาหลีนั่นเอง และอีกชนิดคือโสมอเมริกัน โดยเฉพาะในประเทศจีน ความต้องการของตลาดสูงมาก และมีการปลูกมาก เนื่องจากเชื่อว่าการเกิดโรคต่างๆ มีสาเหตุจากความไม่สมดุลของของหยิน และหยาง และการใช้โสมสามารถปรับสมดุลร่างกายได้ ในประเทศจีนมีการใช้โสมทั้ง 2 ชนิด สำหรับโสมอเมริกัน มีสมบัติเป็นยาเย็น (yin) และโสมจีนมีสมบัติเป็นหยาง (yang) หรือยาร้อน ปกติโสมเป็นพืชที่เจริญเติบโตช้า มีความสูงของต้นเพียง 60-80 เซนติเมตรเท่านั้น และต้องรอนานถึง 6 ปี จึงจะได้รากโสมที่มีสารสำคัญทางยาในปริมาณสูงสุด
1. โสมเกาหลี หรือโสมคน (Korean ginseng)
เนื่องจากรูปร่างของราก ที่มีลักษณะคล้ายคน มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Panax ginseng C.A.Meyer จัดอยู่ในวงศ์ Araliaceae คำว่า "panax" มาจาก "panacea" แปลว่า "รักษาได้สารพัดโรค" โสมชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน แล้วมีการนำไปศึกษาทดลองปลูกในเกาหลี และญี่ปุ่น จนประสบความสำเร็จในเชิงการค้า ถ้าปลูก และส่งออกจากประเทศจีน มักเรียกว่า "โสมจีน (Chinese ginseng)" ที่ปลูก และส่งออกจากประเทศเกาหลีมักเรียกว่า "โสมเกาหลี (Korean ginseng)" เมื่อปลูกจนมีอายุครบ 6 ปี จึงจะมีตัวยาสำคัญสูงสุด โสมที่ขายในตลาดทั่วไปรวมทั้งประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิด คือโสมขาว และโสมแดง, โสมแดง (red ginseng) คือโสมที่ผ่านไอน้ำอุณหภูมิประมาณ 100 องศาเซลเซียส เพื่อฆ่าเอนไซม์ และเชื้อรา ความร้อนทำให้ได้สารที่มีลักษณะคล้ายคาราเมลที่ผิวชั้นนอก (epidermis) ของราก ทำให้ได้รากโสมที่มีสีแดงอมน้ำตาล และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาดีกว่าโสมขาว และราคาแพงกว่า ส่วนโสมขาว (white ginseng) ได้จากการนำรากโสมมาล้างน้ำให้สะอาด และตากแดดให้แห้ง จะมีสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม

2. โสมอเมริกา (American ginseng)
มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Panax quinquefolium L. เป็นไม้ป่าในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา พบครั้งแรกที่ประเทศแคนาดา ในอเมริกาเหนือ มีการใช้ทั้งในรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องดื่ม และชาชง ชาวจีนนำมาปลูก และใช้เช่นเดียวกับโสมเกาหลี

สรรพคุณของโสม
จากการศึกษาวิจัยพบว่าโสมมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง ที่สำคัญๆ ได้แก่
1) เพิ่มสมรรถนะในการทำงานของร่างกายให้สูงขึ้น เนื่องจากโสมมีสรรพคุณในการต้านความเมื่อยล้า (anti-fatigue effect) จากกลไกร่วมกันหลายอย่าง เช่น การเพิ่มการดูดซึมออกซิเจนของผนังเซล เซลจึงสามารถสร้างพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้นโสมยังช่วยปรับการเต้นของหัวใจ ให้กลับสู่ภาวะปกติเร็วขึ้น ร่างกายจึงเหนื่อยช้าลง มีความอดทนต่อการทำงานมากขึ้น ซึ่งช่วยทำให้ผู้สูงอายุมีสมรรถภาพการทำงานของร่างกายดีขึ้น และช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยในระหว่างพักฟื้น ให้หายเจ็บป่วย เป็นปกติได้เร็วขึ้น และเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื่อกันว่าโสมมีสรรพคุณกระตุ้นสมรรถนะทางเพศ ทั้งนี้มีรายงานว่าโสมมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดด้วย
2) คุณสมบัติต่อต้านความเครียด (anti-stress effect) โดยจะช่วยปรับร่างกาย และจิตใจ ให้ทนต่อความกดดันจากภายนอก โดยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่มีผลป้องกัน และลดความเครียดจากต่อมใต้สมอง และช่วยคลายความวิตกกังวล
3) กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีผลให้รู้สึกมีชีวิตชีวา กระปรี้กระเปร่า โดยไม่ทำให้เกิดการอ่อนเพลีย หรืออ่อนล้าตามมา เหมือนยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางอื่นๆ โดยพบว่าซาโปนินจากโสมเมื่อให้ในขนาดน้อยๆ จะมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แต่เมื่อให้ในขนาดสูงๆจะมีฤทธิ์กดประสาท ดังนั้นควรรับประทานในขนาดที่พอเหมาะนะคะ มิเช่นนั้นอาจได้ผลตรงกันข้าม
4) เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีผลกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแบบไม่เฉพาะเจาะจง มีรายงานว่าเพิ่มเม็ดเลือดขาวบางชนิดจึงเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอม
5) มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน มาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
6) ชะลอความแก่ เนื่องจากโสมมีฤทธิ์ทำลายอนุมูลอิสระของออกซิเจนที่เกิดจากการทำลายไขมัน (lipid oxidation) อนุมูลอิสระนี้มีอนุภาพทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ ให้เสื่อมสลายลงก่อนเวลาอันควร ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลทำให้เกิด "ชราภาพ (aging)" เนื่องจากผลของโสมในการปรับสภาพร่างกาย และจิตใจให้ทนต่อความกดดัน เชื่อว่าช่วยเสริมฤทธิ์กันทำให้โสมมีสรรพคุณ "ชะลอความชรา" ได้
โสม (อังกฤษ: Ginseng) เป็นพืชในสกุล Panax โตได้ในบริเวณซีกโลกเหนือ ในทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกาเหนือ มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Panax ginseng C.A. Mayer

 ประโยชน์ของโสมสาร Adaptogens ในโสม มีคุณสมบัติลดความเครียด ช่วยปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้ทนต่อภาวะต่างๆ ได้มากขึ้น และยังช่วยลดความเมื่อยล้า โดยกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น นอกเหนือจากสรรพคุณที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีรายงานผลการวิจัยของโสมเพิ่มเติมอีกดังต่อไปนี้

โสมมีส่วนช่วยเพิ่มการสร้างพลังงาน ทำให้นักกีฬามีความทนทานต่อการออกกำลังหนักได้ดีขึ้น และทำให้สามารถนำพาออกซิเจนไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง โดยการสร้างสาร Interferon ซึ่งเป็นสารต้านเชื้อไวรัส และกระตุ้นการสร้างโปรตีน Interleukin- 1

ช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบในหญิงวัยหมดประจำเดือน

ลดการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียดจากต่อมหมวกไต

ลดอัตราการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ

ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ                                   

ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ

ลดอาการข้างเคียงจากการฉายรังสี

จากที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าพืชสมุนไพรชนิดนี้มีสรรพคุณมากมาย ตั้งแต่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในเวลาที่อ่อนเพลีย ช่วยสร้างพลังงานกับร่างกาย ลดภาวะซึมเศร้า เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ไปจนถึงการเสริมสร้างระบบความจำของสมอง ถึงแม้ว่าการรับประทานโสมอาจทำให้มีอาการนอนไม่หลับได้บ้าง แต่ในปัจจุบันยังไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรงจากการใช้โสม (การใช้โสมหรือสมุนไพรอื่นๆ ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์หรือเภสัชกร) นอกเหนือจากสรรพคุณที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีรายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับโสม ดังนี้

เสริมสร้างสมรรถภาพ ทางเพศ ช่วยลดอาการร้อนใน ในหญิงวัยหมดประจำเดือน ลดการแพร่กระจายเซลล์มะเร็ง ลดผลข้างเคียงจากการฉายรังสี ลดความเครียด จากการหลั่งฮอร์โมนที่ต่อมหมวกไต ลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับมาตรฐาน อัตราการเต้นของหัวใจสมำ่เสมอ