อัลฟัลฟา (Alfalfa) คืออะไร
อัลฟัลฟา (Alfalfa) (Lucene) จัดเป็นพืชจำพวกตระกูลถั่วที่มีฝัก เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันตก และแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เป็นพืชชนิดแรก ๆ ที่ใช้เพื่อการเพาะปลูก เติบโตได้ในแถบทุกอากาศทั่วโลก อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีระบบรากที่มหัศจรรย์มาก ในบางพื้นที่รากของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) สามารถชอนไชลงไปได้ลึกกว่า 130 ฟุต จึงมีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารได้มากกว่าและบริสุทธิ์กว่า อีกทั้งตัวของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เองก็จะไม่สะสมสารพิษ ชาวอาหรับโบราณรู้จักใช้ประโยชน์จาก "อัลฟัลฟา (Alfalfa)" มากว่า 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้เป็นพืชเลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มความเร็วและแข็งแรงให้กับม้า อีกทั้งยังใช้ใบมาตากแห้งชงเป็นชาดื่ม ด้วยคุณค่าทางอาหารที่มากมายชาวอาหรับจึงขนานนาม อัลฟัลฟา (Alfalfa) ให้เป็น AL-FAS-FAH-SHA หรือ "ราชาแห่งอาหารทั้งมวล"
อัลฟัลฟา (Alfalfa) ใด้ถูกใช้เพื่อการรักษาทางการแพทย์มาตั้งแต่ในสมัยโบราณ โดยแพทย์ชาวจีนได้ใช้ใบ อัลฟัลฟา (Alfalfa) อ่อนในการรักษาอาการย่อยไม่ปกติ เช่นเดียวกันกับแพทย์ชาวอินเดียที่ใช้ใบ และดอกสำหรับการรักษากระบวนการย่อยทำงานที่ทำงานได้น้อย นอกจากนี้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังใช้เพื่อการบำบัดโรคข้อต่ออักเสบ ชาวอินเดียนในอเมริกาเหนือได้แนะนำให้ใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ในการรักษาโรคดีซ่าน และช่วยสนับสนุนการจับตัวของเลือด แพทย์ที่ใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดในสหรัฐอเมริการได้แนะนำให้ใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เป็นยาสำหรับอาการย่อยไม่เป็นปกติ ภาวะโลหิตจาง เบื่ออาหารและอาการการดูดซึมอาหารไม่ดี นอกจากนี้ยังแนะนำว่า อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีส่วนกระตุ้นให้การหลั่งน้ำนมในแม่ดีขึ้นอีกด้วย
[แก้] สารที่ประกอบอยู่ใน อัลฟัลฟา (Alfalfa)
ด้วย ระบบรากที่มีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารมากกว่าพืชชนิดใด ๆ เป็นผลให้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เป็นพืชที่มีส่วนประกอบของสารต่าง ๆ มากมาย มี กรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกายถึง 8 ชนิด เช่น lsoleucine, Leucine, Lysine, Methionine เป็นต้น ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่จำเป็นต้องมีไว้เพื่อประโยชน์ในการสร้างเซลล์ใหม่ อีกทั้ง อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีวิตามินอีกมากมาย รวมถึง วิตามิน A, B1, B6, B8, B12, C, D, E, K, P และ U รวมทั้งยังประกอบไปด้วยเกลือแร่อีกหลากชนิด เช่น ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม แคลเซียม สังกะสี เซเลเนียม และแมกนีเซียม เป็นต้น และยังมีเอนไซม์หลักอีกถึง 8 ชนิด คือ ไลเปส อาเมเลล โคกุเลส อีมูลซิน อินเวอร์เคส เปอร์อ๊อกซีเตส เพดติเนส โปรตีส นอกจากนี้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีส่วนประกอบของสารอื่น ๆ อีก เช่น Betacarotene, Bioflavinoids, Carotene, Chlorine Chlorophyll , flavone, isoflavone, sterol และ Saponin เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่ให้คุณต่อร่างกายด้วยกันทั้งนั้น[แก้] อัลฟัลฟา (Alfalfa) กับการใช้เพื่อสุขภาพสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน
สตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน ควรรับประทาน อัลฟัลฟา (Alfalfa) เป็นประจำ สาร isoflavone ใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) ถูกจัดเป็นเอสโตรเจนธรรมชาติ (phytooestrogen) ในสตรีในวันใกล้หมดประจำเดือน เอสโตรเจนจะลดต่ำลงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายและภาวะกระดูก เสื่อม ไฟโต-เอสโตรเจนใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) จะเข้าไปชดเชยเอสโตรเจนที่ต่ำลงนี้ รวมทั้ง วิตามินดี แร่ธาตุ แคลเซียมและฟอสฟอรัส ใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทำให้กระดูกฟันแข็งแรง จึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกเสื่อม นอกจากนี้วิตามินและแร่ธาตุใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) จะช่วยให้ร่างกายปรับสภาพได้อย่างเหมาะสม ลดอาการผิดปรกติในช่วงนี้ของอายุ เช่น อาการร้อนวูบวาบตามตัว หงุดหงิดง่ายลงด้วยประโยชน์ด้านอื่นๆ ของ อัลฟัลฟา (Alfalfa)
[แก้] อัลฟัลฟา (Alfalfa) กับภาวะ คลอเลสเตอรอล สูง
จาก การศึกษาในห้องทดลองพบว่า สาร saponin และส่วนประกอบอื่นใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีความสามารถในการยึดติดใน คลอเลสเตอรอล กับเกลือน้ำดีซึ่งจะเป็นผลช่วยป้องกันหรือชลอการดูดซึม คลอเลสเตอรอล จากอาหาร ดังนั้นจึงช่วยให้ระดับ คลอเลสเตอรอล ในเลือดต่ำ ป้องกันการเกิดภาวะการสะสมไขมันในหลอดเลือด ในการศึกษาผู้ป่วย 15 คน โดยให้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ขนาด 40 กรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า คนไข้มีระดับ คลอเลสเตอรอล รวมและ คลอเลสเตอรอล แบบ LDL (คลอเลสเตอรอล ชนิดเป็นโทษ) ลดลง 17-18% ในขณะที่มีบางส่วนลดลงถึง 26-30% จึงอาจกล่าวได้ว่า อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับความเข้มข้นของ คลอเลสเตอรอล ให้เป็นปกติ[แก้] อัลฟัลฟา (Alfalfa) ช่วยทำความสะอาดผิวจากภายใน
ครอ โรฟิลล์ ปริมาณสูง วิตามิน และแร่ธาตุที่มีอยู่ใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) ด้วยปริมาณที่เหมาะสม จะทำหน้าที่ขจัดของเสีย สารพิษออกจากเลือดและอวัยวะภายใน (Blood and Bowel cleanser) ลดการตกค้างของเสียตามผิวหนัง ทำให้เลือดสะอาดและไหลเวียนได้ดีขึ้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่รับประทาน มากและชอบรับประทานเนื้อสัตว์ เมื่อเลือดดีขึ้นทำให้ผิวพรรณผ่องใสมีสุขภาพที่ดีตามมา นอกจากนี้ใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีสาร ไฟโต-เอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งพบว่าในคนที่มีสิวง่าย เมื่อรับประทาน อัลฟัลฟา (Alfalfa) ปริมาณการเกิดสิวจะลดลงและผิวจะดูสะอาดขึ้น[แก้] อัลฟัลฟา (Alfalfa) กับโรคกระเพาะอาหาร
มี แพทย์จำนวนมากที่ใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารต่าง เช่น มีแก๊สมากในกระเพาะอาหารเกิดอาการจุกเสียดเป็นประจำ โรคแผลในกระเพาะอาหาร และโรคเบื่ออาหาร โดยพบว่า อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีวิตามินยู ซึ่ง ดร. กาเนนท์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด กล่าวว่า วิตามินยู มีศักยภาพสูงในการรักษาโรคกระเพาะ ทำให้การสมานแผลในกระเพาะดีขึ้น และการหลั่งของน้ำย่อยเป็นปกติอัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีเอ็นไซม์ Bataine ซึ่งเป็นเอ็นไซม์สำหรับย่อยและเอ็นไซม์อื่น ๆ อีก 7 ชนิดที่ส่งเสริมปฏิกิริยาเคมีที่สามารถทำให้การดูดซึมสารอาหารภายในร่างกาย เป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งการมีเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูงของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) จะทำให้ผิวที่เคลือบกระเพาะอาหารมีความแข็งแรง ซึ่งพบว่า อัลฟัลฟา (Alfalfa) สามารถช่วยโรคกระเพาะอาหาร ปวดท้องเพราะมีแก๊สมาก รักษาแผลในกระเพาะลำไส้ ได้เป็นอย่างดี การรักษาโรคของหญ้า อัลฟัลฟา (Alfalfa) นี้อาจจะเป็นในลักษณะเดียวกันกับวิธีทางธรรมชาติของแมวหรือสุนัข ที่มักจะกินหญ้าเพื่อบรรเทาโรคกระเพาะของมันได้
[แก้] ปวดข้อ ข้อแข็ง รูมาตอยด์ แก้ไขได้ด้วย อัลฟัลฟา (Alfalfa)
สาร อาหารใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) จะช่วยปรับสมดุล กรด-ด่าง ในร่างกาย ป้องกันการสะสมของกรดยูริคและกรดอื่น ๆ ตามข้อต่อต่าง ๆ ในหนังสือของ แคทเทอรีน เอลวูล ชื่อ Feel Like a Million ได้กล่าวว่า "ความมหัศจรรย์ของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เมื่อให้คนไข้รูมาตอยด์ ใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เพื่อรักษาความปวดตามข้อ ก็ได้รับรายงานจากคนไข้ว่าสามารถงอมือได้สะดวกยิ่งขึ้นและความเจ็บปวดก็หาย ไปนอกจากนี้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังดีสำหรับมารดาที่กำลังให้นมบุตร ช่วยเพิ่มการหลั่งของน้ำนม อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีคุณสมบัติในการช่วยขับถ่าย ปัสสาวะให้เป็นปกติได้อีกด้วย
[แก้] อัลฟัลฟา (Alfalfa) กับโรค มะเร็ง
มี การศึกษาทั้งในมนุษย์ สัตว์ และระบบเชื้อเพาะเลี้ยงพบว่า สาร phytoestrogens มีบทบาทที่สำคัญในการป้องกันโรค มะเร็ง ได้ โดยสารที่จัดว่าเป็นสารประเภท phytoestrogens จะรวมถึง isoflavones, coumestans, และ lignans ซึ่งในหน่อของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ถั่วเหลือง และต้น clover ถือว่าเป็นแหล่งอาหารทางธรรมชาติที่สำคัญของสารดังกล่าว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีข้อแนะนำในขนาดที่ควรรับประทานสาร phytoestrogens อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มการบริโภคอาหารประเภทดังกล่าวจะก่อประโยชน์และ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในร่างกายเราได้เป็นอย่างดี[แก้] รูปแบบและขนาดรับประทาน
รูป แบบของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ที่มีในปัจจุบันมีทั้งเป็นแบบผงชาใช้ชงรับประทาน เม็ด หรือแคปซูล โดยถ้าเป็นชาแนะนำให้ใช้ขนาด 1-2 ช้อนโต๊ะต่อถ้วยโดยต้มให้เดือดประมาณ 10-20 นาท สำหรับรูปแบบที่เป็นเม็ด ผงแคปซูลในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดขนาดการใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) สำหรับมนุษย์อย่างแน่นอน ผู้เชี่ยวชาญด้าน สมุนไพร บางคนแนะนำให้บริโภคขนาด 500-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือถ้าใช้ในรูปแบบของทิงเจอร์ให้ใช้ 3 ครั้งต่อวัน สำหรับกรณีใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เพื่อการบำบัดภาวะ คลอเลสเตอรอล สูง ขนาดที่แนะนำคือ 250-1000 มิลลิกรัม 2-3 ครั้งต่อวันพร้อมกับการรับประทานอาหารหลักโดย ผลิตภัณฑ์ อัลฟัลฟา (Alfalfa) นั้นจะต้องมีข้อความว่าปลอดจากสาร Canavanine และส่วนประกอบที่เป็นอันตรายอื่น จึงจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้เป็นธาตุอาหารเสริมได้อย่างปลอดภัย
[แก้] ข้อควรระวัง
- เนื่องจากปัจจุบัน อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีรูปแบบหลากหลายประเภท มีทั้งเป็นแบบผง หน่อ และเมล็ด ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีสาร L-cavanine ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดเซลล์เลือดผิดปกติ ม้ามขยายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามปัญหานี้จะหมดไปถ้าได้มีการให้ความร้อนแก่ อัลฟัลฟา (Alfalfa) นั้น- จากการศึกษาในสัตว์พบว่าการรับเมล็ดหรือหน่อของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมากจะก่อให้เกิดอาการ systemic lupus erythematosus (SLE) ได้ ซึ่งอาการ SLE นี้อาจเชื่อมโยงเกิดขึ้นกับคนที่รับประทาน อัลฟัลฟา (Alfalfa) ในรูปแบบเม็ดได้ โดยอาการของ SLE คือ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดผิดปกติขึ้นเอง ซึ่งลักษณะของอาการดังกล่าวคือ ข้อต่ออักเสบ ความเสี่ยงที่ไตและอวัยวะอื่นๆ จะเสียหายสูง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากกรดอะมิโน canavanine และปริมาณแคลลอรี่ โปรตีน แลไขมันที่มีอยู่มากในเมล็ด อัลฟัลฟา (Alfalfa)
- ในการใช้อาหารเสริม อัลฟัลฟา (Alfalfa) ไม่ควรใช้ร่วมกันอาหารเสริม Vitamin E เนื่องจาก วิตามิน จะไปขัดขวางการดูดซึม
- มีรายงานความเป็นพิษของหน่อ อัลฟัลฟา (Alfalfa) สดที่ติดเชื้อแบคทีเรียจากเมล็ดก่อนที่จะแตกหน่อ โดยในหน่อที่ยังสดของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) อาจมีแบคทีเรียอาศัยอยู่ จึงเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยในคนได้ถ้าได้บริโภคเข้าไป ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงแนะนำเด็กเล็ก และผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเรื้อรัง ควรหลีกเหลี่ยงการบริโภคหน่อของ อัลฟัลฟา (Alfalfa)
- อัลฟัลฟา (Alfalfa) อาจก่อให้เกิดอาการปวดท้องและท้องร่วงได้ ถ้ามีอาการดังกล่าวควรหยุดใช้ในทันที โดยสมุนไพรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง กรณีของหญิงมีครรภ์ หรือเด็กเล็กไม่ควรใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น